วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 ภาษาประจำชาติอาเซียน

ประเทศมาเลเซีย
อาณาเขต
มาเลเซีย (Malaysia) มีพื้นที่แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก โดยมีทะเลจีนใต้กั้นตรงกลาง มาเลเซียตะวันตกตั้งอยู่
บนคาบสมุทรมาเลเซียหรือคาบสมุทรมลายู (Peninsular Malaysia) ทิศเหนือติดกับไทย ทิศใต้ติดกับช่องแคบยะโฮร์ ที่กั้นระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์ ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ และทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา
         มาเลเซียตะวันตกมีพื้นที่ประมาณ 130,000 ตารางกิโลเมตร มาเลเซียตะวันออกมีพื้นที่ประมาณ 195,000 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่แล้วมีขนาดใหญ่
เป็นอันดับที่ 5 ของประเทศสมาชิกอาเซียน มาเลเซียตะวันออก (East Malaysia) ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ห่างจากมาเลเซียตะวันตกประมาณ 644 กิโลเมตร มีพรมแดนติดกับอินโดนีเซียทางทิศใต้
ที่มาภาพ : http://www.thai-aec.com/
ธงชาติมาเลเซีย

 ที่มาภาพ : th.wikipedia.org/wiki/ประเทศมาเลเซีย

         ธงชาติมาเลเซีย มีแถบสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธง ด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าดังกล่าว มีเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก ซึ่งสี และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
    1. แถบริ้วสีแดง และสีขาว ทั้ง 14 ริ้ว หมายถึง สถานะอันเสมอภาคของรัฐสมาชิกทั้ง 13 รัฐ ภายในประเทศมาเลเซีย
           2. ดาว 14 แฉก หมายถึง ความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด
           3. พระจันทร์เสี้ยว หมายถึง ศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ
           4. สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยว และดาว 14 แฉก สื่อถึง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐสีน้ำเงิน หมายถึง ความสามัคคีของชาวมาเลเซีย
เพลงชาติ
ชื่อเพลง : เนการากู (Negaraku)
แปลว่า ประเทศของฉัน
Negaraku, Tanah tumpahnya darahku, Rakyat hidup,
Bersatu dan maju, Rahmat bahagia,
Tuhan Kurniakan, Raja kita, Selamat bertakhta.
Rahmat bahagia, Tuhan kurniakan,
Raja kita, Selamat bertakhta.

ตราแผ่นดิน
ที่มาภาพ : th.wikipedia.org/wiki/ประเทศมาเลเซีย
เมืองหลวง
กัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)
ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกบุหงารายา (Buanga Raya)  หรือดอกชบาแดง
ระบบการปกครอง
         การเมืองการปกครองปกครองในระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เรียกว่า สมเด็จพระรามาธิบดี หรือ ยังดี เปอร์กวน อากง (Yang di-
pertuan Agong) ซึ่งเลือกจากเจ้าครองรัฐต่างๆ ผลัดเวียนกันทุก 5 ปี ส่วนระบบรัฐบาล มีทั้งรัฐบาลกลางแห่งสหพันธรัฐและรัฐบาลแห่งรัฐ  ปกครองแบบรัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีนายกรัฐมนตรีมีอำนาจสูงสุดของฝ่ายบริหารโดยประมุขของประเทศเป็นผู้แต่งตั้ง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 รัฐมีผู้ปกครองรัฐของตน และ 3 เขตที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลแห่งสหพันธรัฐ
ระบบเศรษฐกิจ สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน
         เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญมาเลเซียเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าแห่งหนึ่ง โดยเป็นรองจากสิงคโปร์แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่
อยู่ในมาเลเซียตะวันตก เมืองปีนังเป็นเมืองท่าใหญ่ของประเทศ มีถนนหลวงมาตรฐานสูงเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายไปทั่ว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซีย คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำมันปาล์ม เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เหล็ก ยางพารา และเป็นผู้ส่งออกดีบุกอันดับต้นๆ ของโลก
           สกุลเงิน คือ ริงกิต (Ringgit) ตัวย่อ MYR
           อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 1 ริงกิต = 10 บาท

ประชากร
        ประชากรในมาเลเซียมีหลากหลายเชื้อชาติโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ ชนเชื้อสายมาเลย์ รองลงมาคือ จีน และอินเดีย นอกจากนั้นคือชนพื้นเมือง ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นศาสนาประจำชาติ รองลงมาคือศาสนาพุทธนิกายมหายาน นอกจากนี้คือ ศาสนาฮินดู และคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
         จำนวนประชากรประมาณ 30.1 ล้านคน (พ.ศ. 2557) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเสื้อสายมาเลย์


ชุดประจำชาติ
         หญิง สวมเสื้อ บาราจูกุงเป็นเสื้อแขนยาวที่มีขนาดตัวยาวถึงเข่า หรือเสื้อ คะบาย่าเป็นเสื้อแขนยาวสีสันสดใส และมีลายฉลุดอกไม้ขนาดพอดีตัวปิดถึงสะโพก และนุ่งกับโสร่งที่มีลวดลายเข้ากับเสื้อ บางครั้งมีผ้าคล้องคอ และสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าส้นสูงแบบสากล
ชาย สวมเสื้อแขนยาวแบบคอปิดติดกระดุม และนุ่งกางเกงขายาวสีเดียวกับเสื้อ ที่เรียกว่าชุด       “บาจู มาลายูซึ่งมีผ้าคาดทับเอว และสวมหมวกแบบมุสลิมที่เรียกว่า ซอเกาะสวมรองเท้าหนังแบบสากล







สัตว์ประจำชาติ

เสือโคร่งมลายู (Malayan Tiger)
ระบบการบริหารการศึกษาของประเทศมาเลเซีย
ระบบการบริหารการศึกษาอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการแบ่งระดับการบริหารเป็น 5 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับรัฐ ระดับอำเภอ ระดับกลุ่มโรงเรียน และระดับโรงเรียน การบริหารโรงเรียนระดับชาติอยู่ในความควบคุมของรัฐบาลกลาง (Federal Government) การศึกษาทุกประเภท ทุกระดับ อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเพียงกระทรวงเดียว ยกเว้นการศึกษาที่มีลักษณะเป็นการศึกษานอกระบบ (Non – formal Education) จะมีกรมจากกระทรวงอื่นที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ เช่น กรมแรงงาน กรมเกษตร เป็นต้น
ระบบการจัดการศึกษาของมาเลเซีย (National Education System) เป็นระบบ 6 : 3: 2 คือระบบการศึกษาของมาเลเซียจัดอยู่ในระดับที่มีมาตรฐานสูงตามแบบของประเทศอังกฤษ สถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอน ระบบการเรียน การสอนแบบ Twinning Program เป็นระบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากเป็นการร่วมมือกับสถาบันในประเทศ อเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนนาดา สวิสเซอร์แลนด์ ฯลฯ

ระดับประถมศึกษาหลักสูตร 6 ปีการศึกษา
– ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตร 3 ปีการศึกษา
– ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตร 2 ปีการศึกษา
– ระดับเตรียมอุดมศึกษา หลักสูตร 1 หรือ 2 ปีการศึกษา
– ระดับอุดมศึกษา หลักสูตรเฉลี่ยประมาณ 3 ปีครึ่ง ถึง 4 ปีการศึกษา


การแบ่งระดับการศึกษา
ระดับการศึกษาของประเทศมาเลเซียแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1. การเตรียมความพร้อม ( Pre – School Education) คือการศึกษาระดับอนุบาล (Kindergarten) โดยมาเลเซียจะให้เด็กเรียนในระดับนี้ตอนอายุ 4 ปี
2. ประถมศึกษา (Primary Education) เด็กทุกคนจะต้องเริ่มเรียนในระดับนี้เมื่ออายุครบ 6 ปี (โดยให้เริ่มนับจากวันที่ 1 มกราคม ของปีการศึกษาอื่น ๆ) ซึ่งจะใช้เวลาเรียน 6 ปี เหมือนกับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ของประเทศไทยโรงเรียนประถมศึกษาในมาเลเซียแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1.) National Primary School จะใช้ภาษามาเลเซียในการสอน
(2.) Vermacular School จะใช้ภาษาจีน หรือทมิฬในการสอน
เมื่อเด็ก ๆ เรียนจบในระดับ Primary Education เด็กทุกคนต้องผ่านการสอบข้อสอบระดับชาติ (Ujian Pencapain Sekolah Rendah:UPSR) จึงจะขึ้นไปเรียนต่อระดับ Secondary Education ได้
3. มัธยมศึกษา (Secondary Education) เป็นการศึกษาต่อเนื่องจากระดับประถมศึกษามีระยะเวลาเรียน 5 ปี หากเป็นโรงเรียนรัฐบาลจะสอนโดยใช้ภาษามาเลเซีย ซึ่งการศึกษาระดับนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ
(1.) Lower Secondary (Form 1 – 3 )
(2.) Upper Secondary (Form 4 – 5)
โรงเรียนที่เปิดสอนในระดับ Upper Secondary มี 3 สาขาคือ
เน้นด้านวิชาการ (Art & Science)
เน้นด้านเทคนิค
เน้นด้านวิชาชีพ
นักเรียนที่เลือกเรียนสายวิชาการและเทคนิคเมื่อจบแล้วจะต้องสอบผ่านข้อสอบของรัฐ (Sijit Pelajaran Malaysia: SPM) และสายวิชาชีพคือ (Sijit Pelajaran Malaysia Vokasional:SPMV) หากสำเร็จการศึกษาระดับนี้ วุฒิที่ไดจะเทียบเท่ากับ GCSE “ O” Levels เมื่อจบการศึกษาระดับนี้ สามารถเลือกว่าจะเรียนต่อในสายวิชาชีพ (Certificate หรือ Diploma) หรือ เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
4. เตรียมอุดม (Post – Secondary or Pre – University Education) หากเลือกที่จะเรียนต่อในสายอุดมศึกษาจะต้องเข้ารับการศึกษาในระดับนี้ก่อนถึงจะสามารถก้าวต่อไปเรียนในระดับปริญญาตรีได้ การรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับนี้ จะดูสาขาที่เลือกตอนเรียนในระดับ Upper secondary และผลการเรียน SPM/SPMU เป็นหลัก และจะคัดเฉพาะเด็กที่ผ่านเกณฑ์เข้าศึกษาเท่านั้น การศึกษาในระดับนี้ใช้เวลา 1 – 2 ปี มี 2 เส้นทาง คือ Sixth Form และ Matriculation การเรียนในเส้นทาง Sixth Form จะมี 3 สาขา คือ Arts, Science และ Technical ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้วจะต้องสอบผ่านข้อสอบของรัฐ คือ STPM (Sijit Tinggi Perselolaham Malaysia) โดยจะได้วุฒิเทียบเท่า GCE “A” Level ส่วน Matriculation คือการสมัครเรียนตรงกับทางสถาบัน ซึ่งหลังจากเรียนจบจะต้องสอบให้ผ่านถึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีได้ ส่วนโรงเรียนเอกชนที่สอนภาษาจีนนั้น ระบบการเรียนนั้นจะแตกต่างกับโรงเรียนรัฐบาล ในช่วงของระยะเวลาเรียนที่ต้องเรียนเป็นเวลา 6 ปี และจะต้องเข้ารับการทดสอบที่เรียกว่า The Unified Examination Certificate (UEC) ซึ่งจัดการโดยสมาคมครูและคณะกรรมการโรงเรียน
5. อุดมศึกษา (Tertiary or Higher Education) การศึกษาในระดับนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ Ministry of Higher Education โดยหลักสูตรที่อยู่ในระดับนี้ประกอบด้วยหลักสูตร Certificate หลักสูตร Diploma หลักสูตร First Degree (Undergraduate Degree หรือ ปริญญาตรี) และ Higher Degree (Professional Degree หรือระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก)
    เส้นทางการศึกษา






ประเภทของสถานศึกษา แบ่งตามหน้าที่ 3 ประเภท ดังนี้
1. สถานศึกษาของรัฐบาล (Government Education Institutions)
2. สถานศึกษาในอุปถัมภ์ของรัฐบาล (Government – aided Educational Institutions)
3. สถานศึกษาเอกชน (Private Educational Institutions)

ภาคการศึกษาของมาเลเซีย
ภาคการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 เทอม ดังนี้
เทอม 1 เริ่มต้นในเดือนมกราคม จนถึง มิถุนายน
เทอม 2 เริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม จนถึง ธันวาคม


สำพาด อาจารย์ศุภฤกษ์ กอบัว









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น